ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities)
•เรียกย่อ
ๆ ว่า L.D.
(Learning Disability)
•เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
•ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน
เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความ
บกพร่องทางร่างกาย
สาเหตุของ LD
•ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้
(เชื่อมโยงภาพตัว
อักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
•กรรมพันธุ์
1.
ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
•หนังสือช้า
ต้องสะกดทีละคำ
•อ่านออกเสียงไม่ชัด
ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
•
ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
ตัวอย่าง
จาน ---> จาง/บา
ง่วง ---> ม่วม/ม่ง/ง่ง
เลย ---> เล
โบราณ ---> โบรา
หนังสือ ---> สือ
อรัญ ---> อะรัย
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
•อ่านช้า
อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
•อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
•เดาคำเวลาอ่าน
•อ่านข้าม
อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
•อ่านโดยไม่เน้นคำ
หรือเน้นข้อความบางตอน
•ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
•ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
•เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้
จับใจความสำคัญไม่ได้
2.
ด้านการเขียน (Writing Disorder)
•เขียนตัวหนังสือผิด
สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
•เขียนตามการออกเสียง
เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
•เขียนสลับ
เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
•ลากเส้นวนๆ
ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
•เรียงลำดับอักษรผิด
เช่น สถิติ เป็น สติถิ
•เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน
เช่น
ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
•เขียนพยัญชนะ
ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
•เขียนพยัญชนะ
หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
•เขียนคำตามตัวสะกด
เช่น เกษตร เป็น กะเสด
•จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
•สะกดคำผิด
โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
•เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
•เขียนไม่ตรงบรรทัด
ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
•ลบบ่อยๆ
เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
3.
ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)
•ตัวเลขผิดลำดับ
•ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
•ไม่เข้าหลักเลขหน่วย
สิบ ร้อย
•แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
•ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
•นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
•คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
•จำสูตรคูณไม่ได้
•เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
•ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
•ตีโจทย์เลขไม่ออก
•คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
•ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
•แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
•มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
•เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
•งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
•การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
•สมาธิไม่ดี
(เด็ก LD ร้อยละ
15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
•เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
•ทำงานช้า
•การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
•ฟังคำสั่งสับสน
•คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
•ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
•ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
•ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
•ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน
7. ออทิสติก (Autistic)
•หรือ
ออทิซึ่ม
(Autism)
•เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
•ไม่สามารถเข้าใจคำพูด
ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
•ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
•เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
•ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
"ไม่สบตา
ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"
•ทักษะภาษา
•ทักษะทางสังคม
•ทักษะการเคลื่อนไหว
•ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง
ขนาดและพื้นที่
ลักษณะของเด็กออทิสติก
•อยู่ในโลกของตนเอง
•ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
•ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
•
ไม่ยอมพูด
•เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
ดูหน้าแม่ ---> ไม่มองตา
หันไปตามเสียง ---> เหมือนหหูหนวก
เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม ---> เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
ร้องเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้ ---> ไม่สนใจคนรอบข้าง
จำหน้าแม่ได้ ---> บางคนก็จำคนไม่ได้
เปลี่ยนของเล่น ---> นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
เคลื่อนไหวอย่างมีจุดมุ่งหมาย ---> มีพฤติกรรมแปลกๆ
สำรวจและเล่นตุ๊กตา ---> ดมหรือเลียตุ๊กตา
ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ ---> ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง และคนรอบข้าง
เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติกองค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา
ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย
2 ข้อ
–ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
–ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
–ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม
ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
–ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น
ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย
1 ข้อ
–มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
–ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่าง
เหมาะสม
–พูดซ้ำๆ
หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา
เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
–ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
มีพฤติกรรม
ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัดอย่างน้อย 1 ข้อ
–มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
–มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้
ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
–มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
–สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ
พฤติกรมการทำซ้ำ
•นั่งเคาะโต๊ะ
หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
•นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
•วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
•ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
พบความผิดปกติอย่างน้อย
1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
–ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
–การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
–การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ
Autistic
Savant
•กลุ่มที่คิดด้วยภาพ
(visual
thinker)
จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom
up thinking)
•กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ
(music,
math and memory thinker)
จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top
down thinking)
ความรู้ที่ได้รับ
- เรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของเด็กพิเศษ ลักษณะต่างๆๆของโรคนั้นๆ
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
- เพื่อนตั้งใจเรียนดีมาก
ประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีน้ำเสียงน่าฟัง สอนเข้าใจ มีเนื้อหาที่ละเอียด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น